วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีจั้มสาย Power Supply


วิธีจั้มสาย Power Supply


เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy) แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าเพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่ เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจาก ตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่อง จากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส
เพาว์เวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบ AT
2. แบบ ATX



ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้อง อาศัย power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องดัวนั้นหากอุปกรณ์ตัวนี้มีปัญหาหรือเสียซึ่งทำ ให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน
power supply คือ power supply เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อ จ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย
power supply เป็นอุปกรณ์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเครื่องของเราได้ หาก power supply เสียก็มักไม่ซ่อมกันเพราะไม่คุ้ม เพราะราคาของไหม่เพียง 500-800 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่มักเกี่ยวข้องกับ power supply ด้วยเช่นกัน เครื่องทำงานรวนตรวจเช็คอุปกรณ์มนเครื่องแล้วไม่เสีย อยากทราบสาเหตุอาการแบบนี้เป็นอาการเสียที่มักคาดไม่ถึงเพราะหาสาเหตุยาก เนื่องจากช่างส่วนใหญ่จะคิดว่าอาการรวนของเครื่องมาจาก แรม ซีพียู เมนบอร์ด เท่านั้น แต่ไม่ได้นึกถึง Power supply จึงข้ามการตรวจสอบในส่วนนี้ไปหากนำ Power supply ที่สงสัยมาตรวจวัดมาตรวจวัดแรงดันไฟจะพบว่าจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอซึ่งมี สาเหตุมาจากชำรุดเพราะใช้งานมานานหรือใช้ชิ้นส่วนราคาถูกจึงทำให้อุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง แรม ซีพียู เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ พลอยทำงานไม่ได้ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขก็คือให้เปลี่ยน Power supply ตัวใหม่ เครื่องก็จะทำงานได้ดีดังเดิม
สำหรับวิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply มีดังนี้
1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
2. ปลอกสายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้างและนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อ ของสายเส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้ว จ่ายไฟสำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
5. นำขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
6. เปลี่ยนขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัวใหม่แทนเครื่องก็จะทำงานได้ตามปกติ

พัดลมระบายความร้อนของ
Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
สำหรับผู้ที่เคยพบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่อง ทั้งหมดแล้วไม่เสีย จึงถอด Power Supply มาดู (สังเกตดูด้านหลังเครื่องก็ได้) พบว่าพัดลม Power Supply ไม่หมุนแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรสำหรับการแก้ไข คือ ต้องหาซื้อพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนในราคาตัวละประมาณ 80 - 100 บาท โดยแกะฝา Power Supply และถอดพัดลมตัวเก่าออกและทำการบัดกรีเพื่อเชื่อมสายพัดลมตัวใหม่เข้าบวงจร โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออกโดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออกจากวงจร
2. นำพัดลมระบายความร้อนตัวใหม่ที่เตรียมไว้ใส่แทนโดยทำการบัดกรีจุดเชื่อมต่อ สายไฟใหม่ด้วยหัวแร้งพร้อมตะกั่วบัดกรี ให้เชื่อมให้สนิทกัน
3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู

การเปลี่ยน
Power Supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT
ภาพแสดง ATX Power Supply จากภาพสังเกตว่า Power Supply แบบ ATX นั้นแตกต่างจาก Power Supply แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ (Housing of Power Supply) แทนที่จะต่อออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้วต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟ ด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power Supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อมีสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่าน สาย 5 Volt Standby



จากการทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามาต่อที่ตำแหน่งดังกล่าวเมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าวทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบ คุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply พบว่าเมื่อเปลี่ยนเอา AT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่ม reset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เปิดสวิชต์เครื่องได้แต่ไม่ ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวรการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องการเปลี่ยนภาคจ่ายไฟ ATX สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เคส AT ก็คือหาซื้อสวิตช์รีเลย์มาประยุกต์เพิ่มเติมจะได้ประสิทธิภาพของ ATX Power Supply

ข้อควรคำนึงเมื่อใช้
Power Supply แบบ ATX
1. สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power Off) คอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ได้ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
2. ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลา เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
3. พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
4. การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันที่ 23 สิงหาคม 2555

ใบงานที่ 10 
การเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์


คำสั่ง  ให้นักศึกษาดูคลิบวีดิโอ ตามลิงค์
 แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. ทักษะที่ได้รับจากการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์ในคลิบอะไรบ้าง
2. สิ่งที่ได้เปรียบเทียบในการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
3. Power Suppy คอมพิวเตอร์ที่นำมาเปรียบเทียบแต่ละแบบมีราคาเท่าไรบ้าง(แยกให้เห็นชัดเจน)

หมายเหตุ   ให้โพสลงในบล็อคของแต่ละคน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์อาการเสียเพาเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply) อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด (ไม่ใช่เฉพาะคอมพิวเตอร์นะครับ) หน้าที่โดยรวมๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มันทำงานได้ ถ้าจะให้เปรียบก็คงเหมือนกับระบบย่อยอาหารของคนเรานั่นแหละครับ


พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมี ลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX ส่วนมากอาการเสียที่มักจะสันนิษฐานว่า เกิดจากพาวเวอร์ซัพพลาย ก็คือ การเปิดเครื่องแล้วไม่ติด พัดลมด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายไม่หมุน ในกรณีนี้ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่ามัลติมิเตอร์ เราจะไม่สามารถหาพบได้เลยว่าพาวเวอร์ซัพพลายเสียที่จุดใด

รู้จักมัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่เป็นเข็ม และแบบตัวเลข (Digital) แบบที่เป็นเข็มนั้นมีราคาค่อนข้างถูก แต่ว่าความเที่ยงตรงจะไม่ค่อยมี ส่วนแบบดิจิตอลนั้นความเที่ยงตรงมีมากกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย สำหรับมือใหม่หัดซ่อมอย่างเราก็เล่นแบบเข็มก็พอครับ
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ใช้วัดได้ทั้งไฟตรง
ไฟสลับ สายไฟ และความต้านทาน ราคา
ถูกแต่ไม่ค่อยแม่นยำนัก
เอาละ เรามาดูวิธีการใช้มัลติมิเตอร์แบบง่ายๆ กันเลย ก่อนอื่นให้คุณนำสายสีแดงเสียบในช่องที่เป็นสีแดง และนำสายสีดำเสียบในช่องที่เป็นสีดำ (อย่าสลับกันนะครับ) หน่วยวัดของมัลติมิเตอร์นั้น จะมีหน่วยเป็นโอห์ม หมายถึงค่าของความต้านทานของตัวนำนั่นเอง ตัวนำที่ดีที่สุดจะต้องไม่มีความต้านทานอยู่เลย
ส่วนถัดมาของมัลติมิเตอร์ คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC โวลต์ สายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกจ่ายออกมาเป็น 2 แรงดันคือ สายสีแดงจ่ายไฟ 5 โวลต์ และสายสีเหลือง จ่ายไฟ 12 โวลต์ เวลาที่คุณต้องการวัดว่า มีกระแสไฟออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายหรือไม่ ให้คุณปรับตัวบิดไปที่ตัวเลขที่ใกล้เคียงสูงกว่า สายเส้นที่คุณจะวัด เช่น คุณต้องการวัดสายแดงที่จ่ายไฟ 5 โวลต์ ให้คุณปรับไปที่เลข 10 เพื่อป้องกันมัลติมิเตอร์พัง เพราะกระแสเกิน
อีกส่วนของมัลติมิเตอร์ ก็คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยปกติแล้วไฟบ้านเราจะใช้แรงดันไฟที่ 220 โวลต์ ใช้ในเวลาที่คุณต้องการจะวัดสายไฟที่ต่อออกจากไฟบ้านเข้าพาวเวอร์ซัพพลายว่า มีไฟเข้าหรือไม่

หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัวหนึ่งชำรุด เสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
รายละเอียดต่างๆ ของมัลติมิเตอร์
ส่วนประกอบต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
และหน้าที่การทำงาน
เอาละครับ เรารู้หลักการทำงานคร่าวๆ ของ Power supply แล้ว เรามาดูถึงอาการเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าจะวิเคราะห์อาการเสียอย่างง่ายๆ ก็มี เช่น
  • เปิดแล้ว พัดลมไม่หมุนแต่เครื่องติด
    หากอาการแบบนี้ให้คุณทราบไว้เลยว่า พัดลมระบายความร้อนในพาวเวอร์ซัพพลายของคุณนั้นมันเกิดอาการเสียซะแล้ว อาจเป็นเพราะเกิดการฝืดเนื่องจากมีฝุ่น หรือหยากไย่เข้าไปค้างอยู่ หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้ พาวเวอร์ซัพพลายของคุณพังได้ วิธีแก้ก็คือให้คุณ ตัดเอาพัดลมพร้อมสายไฟออกแล้วเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (แถวบ้านหม้อก็ได้) แล้วยื่นพัดลมให้คนขายดูเขาก็จะหยิบตัวใหม่ที่เหมือนกันเปี๊ยบมาให้คุณ คุณก็เอากลับไปต่อกับตัวพาวเวอร์ได้เหมือนเดิม แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ราคาพัดลมกับพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหม่นั้นมีราคาใกล้เคียงกันมากทีเดียว แต่ลองหัดซ่อมดูก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ
  • เปิดแล้วเครื่องไม่ติดพัดลมไม่หมุน
    หากเกิดอาการอย่างนี้อย่าเพิ่งสรุปนะครับว่า พาวเวอร์ซัพพลายของคุณเสีย เพราะอย่างที่บอกไว้ในหัวข้อข้างต้นก็คือ Power supply แบบ Switching นั้น สามารถที่จะตัดกระแสไฟได้ถ้าหากมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากตัวมันไปชำรุด ดังนั้นวิธีเช็กก็คือให้คุณถอดอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมด ออกมาก่อนแล้วเปิดดู หากพัดลมติด และใช้มัลติมิเตอร์วัดดู ถ้าเข็มแสดงว่ามีไฟเลี้ยงเข้าแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของคุณนั้นเกิด อาการชำรุดหรือช็อต วิธีทดสอบก็คือให้เสียบไฟโหลดนั้นทีละตัว แล้วเปิดดูหากอุปกรณ์ชิ้นไหนชำรุดพาวเวอร์ซัพพลายก็จะไม่หมุน (ตัวอย่างที่พบกันบ่อยๆ ก็คือคุณประกอบเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส โดยที่ไม่ได้ใช้แผ่นโฟมหรือขาพลาสติกรอง ทำให้ลายวงจรของเมนบอร์ด เกิดการสัมผัสกับตัวเคสที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้น ดังนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ให้คุณรีบปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายโดยเร็ว และใช้แผ่นโฟมหรือแหวนรองน็อต ใส่ก่อนทุกครั้งที่ประกอบเครื่องลงเคส ไม่งั้นคุณอาจต้องน้ำตาร่วงเพราะเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่)
    วิธีวัดพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้ามีเข็มขึ้น
    แสดงว่าพาวเวอร์ซัพพลายของคุณปกติ
    สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่ฟิวส์ที่อยู่ภาพในตัว พาวเวอร์ซัพพลายเองขาด วิธีดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ก็ให้ดูด้วยตาเปล่า หรือถ้ามีเขม่าจบในฟิวส์มากๆ ก็ให้ถอดฟิวส์ออกมาวัดโดยวัดจากค่าความต้านทานในฟิวส์ ตรงนี้คุณต้องถอดออกมาจากวงจรนะครับ ถึงจะวัดได้ ถ้าไม่มีความต้านทานขั้นก็แสดงว่าฟิวส์ขาด แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด แล้วยังไม่มีไฟเข้าที่พาวเวอร์ซัพพลายอีก สาเหตุน่าจะมาจาก สายไฟที่คุณใช้ต่อไฟกระแสสลับเข้าสู่ไฟบ้านมีอาการชำรุด ขาดใน หรือแผงวงจรร หรือ อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งของพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหาย
    สำหรับในกรณีแรกให้คุณลองหาสายไฟมาเปลี่ยนดู แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สอง ก็เปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายใหม่เถอะครับ ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมเพราะมันไม่คุ้ม อ้อ ก่อนการลงมือซ่อมพาวเวอร์ซัพพลายทุกครั้งอย่าลืมว่าต้องใส่รองเท้าหนาๆ ด้วยนะครับ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตัวคุณเอง

    ที่มา อาณัติ แซ่เบ๊ - 15 กรกฎาคม 2545 
    http://www.arip.co.th/articles.php?id=404960