วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Power supply watt แท้ watt เทียม

เรื่อง Power supply watt แท้ watt เทียม

July 6, 2009 by: admin

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ช่วงนี้หน้าฝนแล้วมีคำเตือนจากประสบการณ์ตรงจากการเป็นช่างคอมมาเกือบ 10 ปี คือ ทุก ๆ หน้าฝนคอมพิวเตอร์จะเสียมากผิดปกติเพราะอะไรเหรอครับเพราะช่วงฝนตกก็มักจะมีฟ้าร้องฟ้าฝ่า ในบางกรณีฟ้าผ่าใกล้ ๆ หม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่ ๆ ที่อยู่บนเสาไฟฟ้าแรงสูงหรือผ่าตรงหม้อเลย ถ้าหม้อไม่ระเบิดซะก่อน กำลังไฟภายในหม้อนั้นก็จะพุ่งขึ้นสูงปรี๊ด จากปกติ แล้วก็จะพุ่งเข้าบ้านเราด้วยความแรงปรี๊ดเช่นกันอาจขึ้นไปได้สูงถึง 350-400 โวลล์… แน่นอนว่าอุปกรณืทุกชิ้นที่ต่ออยู่ก็จะพากันไหม้เป็นแถบ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคอมพิวเตอร์ที่ช่างจะอ่อนไหวเหลือเกินกับสภาพไฟแบบนี้ เพราะฉะนั้นฝนนี้ หา UPS ดี ๆ ซักตัวมาติดกันไว้ก่อนจะเสียน้ำตาเพราะคอมพังนะครับ อ้อแล้วใครที่เล่น internet อย่าลืมเอาสายสัญญาณโทรศัพท์ต่อกับ UPS ก่อนเข้า Rouster ด้วยนะครับเพราะตอนนี้ สายโทรรศัพท์เองก็ห้อยอยู่ใกล้กับสายไฟแรงสูง ถ้าโดนผ่าก็โดนด้วยกันแหละครับ เร้าเตอร์ หรือโมเด็มก็มีสถิติพังในหน้าฝนไม่แพ้กัน.
แหมเกร่นนำนอกเรือ่งมาหลายบันทัดมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องในวันนี้คือเรื่องของ Power supply ครับ เพื่อนๆพี่ๆหลาย ๆ คนชอบถามผมเรื่อของ Power supply ที่ตอนนี้มี “วัตต์แท้” “วัตต์เทียม” อะไรให้วุ่นวาย ซึ่งโดยปกติแล้วผมก็ไม่ค่อยได้สนใจเจ้าตัว power supply นี่เทาไหร่นักเสียหรือมีอาการผิดปกติอะไรก็เปลี่ยนเลย เพราะมันไม่แพงมาก แต่หลัง ๆ นี่ชักไม่ใช่เพราะหลาย ๆ คนมีปัญหาเวลาซื้อ Power supply ราคาถูก ๆ มาใช้แล้วเกิดปัญหาหลายอย่างวันนี้เลยจะมา แฉ “วัตต์แท้-ทียมกัน” ครับ
รู้จัก Power supply
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าผมไมได้เรียนจบมาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยตรง ความรู้ที่ได้มาจนถึงขั้นเป็นอาจารย์สอนซ่อมคอมพิวเตอร์ได้เกิดจากความสนใจและใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาโดยไปหาเรียนเอาตามสถานที่สอนซ่อมคอมต่าง ๆ โดยมีอาจารย์-เพื่อนและตำราต่าง ๆ เป็นแหล่งข้อมูล ดังนั้นผมจะไม่ขอใช้คำพูดเป็นภาพษาช่างหรือศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยากให้เพื่อน ๆ งง เพราะผมก็งง ผมจะขอใช้คำเป็นลักษณะของผมเองให้เพื่อน ๆ เข้าใจง่ายที่สุดส่วนเพื่อนคนไหนอยากเสริมเพิ่มอะไรก็เชิญได้ที่ comment หรือเวบบอร์ดได้นะครับ เอาหล่ะเริ่มกันเลย
Power supply ให้ความหมายง่าย ๆ เลยคือหน่วยจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยหลักการทำงานของมันก็คือแปลงไฟจากไฟบ้าน กระแสสลับ(AC) ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) ค่าต่าง ๆ แล้วแจกจ่ายให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าวถ้ามันแปลงจาก AC เป็น DC ก็ต้องใช้หม้อแปลง (Tranfromer) ขนาดใหญ่ ๆ เหมือนกับที่ใช้กันอยู่ใน UPS สิ แต่ทำไม Power supply ของคอมพิวเตอร์ ถึงได้ไม่ได้มีน้ำหนักขนาดนั้น…คำตอบคือ Power supply ของคอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้หม้อแปลงในการแปลงค่าไฟจาก AC เป็น DC ครับ แต่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคในการแปลง เราเรียก Power supply แบบนี้ว่า Switching power supply

หลักการทำงานของ Switching power supply
หลักการทำงานของมันก็คือเมื่อมีไฟกระแสสลับเข้าที่ AC In ไฟนั้นก็จะถูกแปลงเป็นไฟ DC ที่มีค่า โวลต์สูงโดยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า แพ็คเกจไดโอท (ไดโอท 4 ตัวที่นอนเรียงกันอยู่ตรงภาคไฟสูงนั่นแหละครับ) เมื่อแปลงออกมาแล้วค่าไฟ DC จะสูงมากประมาณ 300 โวลต์ และส่งไปที่ คาปาซิสเตอร์ (กระป๋องใหญ่ ๆ 2อันเหมือนจากไดโอท) จะทำหน้าที่กรองกระแสไฟให้เรียบที่สุดเท่าที่จะทำได้(เพราะไฟ DC ที่ได้จากการแปลงด้วย แพ็คเกจไดโอทมันจะไม่สม่ำเสมอเหมือนกับแปลงด้วยหม้อแปลง) จากนั้นก็ถูกส่งไปที่ หม้อแปลงตรงกลาง เพื่อแปลงให้เป็น DC ต่ำตามที่ อุปกรณ์ต้องการ ก็จะมีอยู่ 3 ค่าหลัก ๆ คือ DC 12 V,DC 5 V และ DC 3.3 V จากนั้นไฟที่ถูกแปลงแล้วจะถูกส่งย้อนกลับไปที่ IC ที่ติดอยู่กับแผ่นระบายความร้อนสีเงิน ๆ ติดกับภาคไฟสูงเพื่อควบคุมค่าแรงดันไฟให้ได้ตามต้องการ(ไม่ขาดไม่เกินมากนัก)และเมื่อได้แรงดันไฟที่ค่อนข้างสม่ำเสมอแล้วกระแสจะถูกส่งเข้าไปที่ IC อีกด้านที่อยู่ติดกับภาพไฟต่ำ IC ตรงนี้แหละครับเราเรียกว่า Switching มันจะทำหน้าที่คอยตรวจเช็คว่ามีอุปกรณ์ตัวใดที่ต่ออยู่กับ Power supply มีการทำงานผิดปกติเช่น ลัดวงจร รึเปล่าถ้าพบอุปกรณ์ที่มีการลัดวงจร switching จะทำการติดไฟออกจากภาคไฟต่ำเพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (อาการนี้สังเกตุได้ง่า ยๆ คือเมื่อคุณกดเปิดเครื่องแล้วเครื่องติดพัดลมหมุน นิดเดียวแล้วก็ดับ หรือ ติดปุ๊บแล้วดับเลยอันนี้ก็ให้สันนิฐานได้แล้วว่าคงมีอุปกรณ์ตัดใดตัวหนึ่งลัดวงจร หรือไม่ก็อาจมีเศษโลหะตกลงไปในเครื่องของเรา(เอาไว้ผมจะเขียนบรรยายอย่างละเอียดในโอกาสต่อไปนะครับ) และถ้าSwitching ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกติก็จะปล่อยกระแสออกทางภาคไฟต่ำเพื่อแจกจ่ายไปตามสายไฟเข้าสู่อุปกรณ์ต่อไป

ค่าแรงดันไฟที่ออกตามสายไฟมีดังนี้
12V สายสีเหลือง
5V สายสีแดง
3.3 V สายสีส้ม
Ground สีดำ
-12 V สีน้ำเงิน
-5 V สีขาว
standby 5 V สีเทา
โดยอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะไปจัดสรรค์ค่าไฟที่รับมาจาก Powersupply เอง เช่น Mainboard ก็จะจ่ายไฟ 3.3 V ให้กับ CPU และตัว control ของ CPU ก็จะไปจัดสรรไฟ 3.3 V ให้เป็นค่าที่ CPU ต้องการเช่น 1.75 V และไฟ 12 V ก็จะถูกใช้โดย HDD ,CD-rom,vga card ก็จัดสรรกันไปตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด
วัตต์แท้-วัตต์เทียม ดูกันอย่างไร?
จริง ๆ แล้วกำจะหาค่าวัตต์นั้นจำต้องใช้ค่า ”แอมป์” (แรงดันไฟฟ้า) ในแต่ละเฟสมาคำนวนให้เป็นวัตต์ แล้วนำมาบวกรวมกันอีกที ดังนั้น Power supply 2 ยี่ห้อที่ตี วัตต์เท่ากันอาจใช้กับคอมสเป็กเดียวกันไมได้

Power supply A

Power supply B
จากภาพเราจะเห็นได้ว่า Power supply A ที่ติดบอกไว้ว่า 400 W อาจไม่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ VGA แบบกินไฟมาก ๆ อย่าง GF 9800 หรือ ต้องต่อพ่วงกับ HDD หลาย ๆ ตัวแล้วอาจจะเกิดปัญหาได้ได้เพราะว่า Amp น้อยกว่า Power supply B
ดูยังไง Watt แท้ Watt เทียม
ถ้านอกเหนื่อจากการดูจำนวน AMP ที่ Power supply lมารถจ่ายได้แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือ”ราคา” Power supply 550 watt ราคา 500 บาท อันนี้ดูได้เลยครับว่าวัตต์ไม่แท้ “แต่ถ้าคุณเจอพ่อค้าหัวใส อับราคาของจาก 500 าเป็น 800 หล่ะ นั่นหน่ะสิ ก็ให้ดูที่วัสดุและน้ำหนักครับ Power supply วัตต์แท้จะค่อนข้างมีน้ำหนักมากกว่า วัตต์เทียมอย่างเห็นได้ชัด “อ้าวแล้วถ้าทั้งร้านเค้ามียี่ห้อเดียวหล่ะ” นั่นสิครับทำไงดี เอาเป็นว่า ถ้าคุณไม่ได้เป็นพวกเล่นเกมส์หรือใช้งาน VGA ระดับเทพ ผมว่า Power ธรรมดา 450 W ราคา 500-600 บาทก็เพียงพอกับความต้องการของคุณครับ แต่ถ้าเป็นพวกตรงข้าม ก็แนะนำให้คุณมองหา Power supply ที่มีแอมป์สูง ๆ มีวัตต์มาก ๆ และมีราคาสูงหน่อย

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีจั้มสาย Power Supply


วิธีจั้มสาย Power Supply


เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy) แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าเพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่ เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจาก ตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่อง จากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส
เพาว์เวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบ AT
2. แบบ ATX



ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้อง อาศัย power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องดัวนั้นหากอุปกรณ์ตัวนี้มีปัญหาหรือเสียซึ่งทำ ให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน
power supply คือ power supply เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อ จ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย
power supply เป็นอุปกรณ์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเครื่องของเราได้ หาก power supply เสียก็มักไม่ซ่อมกันเพราะไม่คุ้ม เพราะราคาของไหม่เพียง 500-800 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่มักเกี่ยวข้องกับ power supply ด้วยเช่นกัน เครื่องทำงานรวนตรวจเช็คอุปกรณ์มนเครื่องแล้วไม่เสีย อยากทราบสาเหตุอาการแบบนี้เป็นอาการเสียที่มักคาดไม่ถึงเพราะหาสาเหตุยาก เนื่องจากช่างส่วนใหญ่จะคิดว่าอาการรวนของเครื่องมาจาก แรม ซีพียู เมนบอร์ด เท่านั้น แต่ไม่ได้นึกถึง Power supply จึงข้ามการตรวจสอบในส่วนนี้ไปหากนำ Power supply ที่สงสัยมาตรวจวัดมาตรวจวัดแรงดันไฟจะพบว่าจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอซึ่งมี สาเหตุมาจากชำรุดเพราะใช้งานมานานหรือใช้ชิ้นส่วนราคาถูกจึงทำให้อุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง แรม ซีพียู เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ พลอยทำงานไม่ได้ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขก็คือให้เปลี่ยน Power supply ตัวใหม่ เครื่องก็จะทำงานได้ดีดังเดิม
สำหรับวิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply มีดังนี้
1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
2. ปลอกสายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้างและนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อ ของสายเส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้ว จ่ายไฟสำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
5. นำขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
6. เปลี่ยนขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัวใหม่แทนเครื่องก็จะทำงานได้ตามปกติ

พัดลมระบายความร้อนของ
Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
สำหรับผู้ที่เคยพบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่อง ทั้งหมดแล้วไม่เสีย จึงถอด Power Supply มาดู (สังเกตดูด้านหลังเครื่องก็ได้) พบว่าพัดลม Power Supply ไม่หมุนแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรสำหรับการแก้ไข คือ ต้องหาซื้อพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนในราคาตัวละประมาณ 80 - 100 บาท โดยแกะฝา Power Supply และถอดพัดลมตัวเก่าออกและทำการบัดกรีเพื่อเชื่อมสายพัดลมตัวใหม่เข้าบวงจร โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออกโดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออกจากวงจร
2. นำพัดลมระบายความร้อนตัวใหม่ที่เตรียมไว้ใส่แทนโดยทำการบัดกรีจุดเชื่อมต่อ สายไฟใหม่ด้วยหัวแร้งพร้อมตะกั่วบัดกรี ให้เชื่อมให้สนิทกัน
3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู

การเปลี่ยน
Power Supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT
ภาพแสดง ATX Power Supply จากภาพสังเกตว่า Power Supply แบบ ATX นั้นแตกต่างจาก Power Supply แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ (Housing of Power Supply) แทนที่จะต่อออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้วต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟ ด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power Supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อมีสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่าน สาย 5 Volt Standby



จากการทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามาต่อที่ตำแหน่งดังกล่าวเมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าวทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบ คุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply พบว่าเมื่อเปลี่ยนเอา AT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่ม reset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เปิดสวิชต์เครื่องได้แต่ไม่ ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวรการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องการเปลี่ยนภาคจ่ายไฟ ATX สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เคส AT ก็คือหาซื้อสวิตช์รีเลย์มาประยุกต์เพิ่มเติมจะได้ประสิทธิภาพของ ATX Power Supply

ข้อควรคำนึงเมื่อใช้
Power Supply แบบ ATX
1. สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power Off) คอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ได้ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
2. ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลา เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
3. พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
4. การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันที่ 23 สิงหาคม 2555

ใบงานที่ 10 
การเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์


คำสั่ง  ให้นักศึกษาดูคลิบวีดิโอ ตามลิงค์
 แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. ทักษะที่ได้รับจากการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์ในคลิบอะไรบ้าง
2. สิ่งที่ได้เปรียบเทียบในการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
3. Power Suppy คอมพิวเตอร์ที่นำมาเปรียบเทียบแต่ละแบบมีราคาเท่าไรบ้าง(แยกให้เห็นชัดเจน)

หมายเหตุ   ให้โพสลงในบล็อคของแต่ละคน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์อาการเสียเพาเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply) อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด (ไม่ใช่เฉพาะคอมพิวเตอร์นะครับ) หน้าที่โดยรวมๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มันทำงานได้ ถ้าจะให้เปรียบก็คงเหมือนกับระบบย่อยอาหารของคนเรานั่นแหละครับ


พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมี ลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX ส่วนมากอาการเสียที่มักจะสันนิษฐานว่า เกิดจากพาวเวอร์ซัพพลาย ก็คือ การเปิดเครื่องแล้วไม่ติด พัดลมด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายไม่หมุน ในกรณีนี้ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่ามัลติมิเตอร์ เราจะไม่สามารถหาพบได้เลยว่าพาวเวอร์ซัพพลายเสียที่จุดใด

รู้จักมัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่เป็นเข็ม และแบบตัวเลข (Digital) แบบที่เป็นเข็มนั้นมีราคาค่อนข้างถูก แต่ว่าความเที่ยงตรงจะไม่ค่อยมี ส่วนแบบดิจิตอลนั้นความเที่ยงตรงมีมากกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย สำหรับมือใหม่หัดซ่อมอย่างเราก็เล่นแบบเข็มก็พอครับ
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ใช้วัดได้ทั้งไฟตรง
ไฟสลับ สายไฟ และความต้านทาน ราคา
ถูกแต่ไม่ค่อยแม่นยำนัก
เอาละ เรามาดูวิธีการใช้มัลติมิเตอร์แบบง่ายๆ กันเลย ก่อนอื่นให้คุณนำสายสีแดงเสียบในช่องที่เป็นสีแดง และนำสายสีดำเสียบในช่องที่เป็นสีดำ (อย่าสลับกันนะครับ) หน่วยวัดของมัลติมิเตอร์นั้น จะมีหน่วยเป็นโอห์ม หมายถึงค่าของความต้านทานของตัวนำนั่นเอง ตัวนำที่ดีที่สุดจะต้องไม่มีความต้านทานอยู่เลย
ส่วนถัดมาของมัลติมิเตอร์ คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC โวลต์ สายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกจ่ายออกมาเป็น 2 แรงดันคือ สายสีแดงจ่ายไฟ 5 โวลต์ และสายสีเหลือง จ่ายไฟ 12 โวลต์ เวลาที่คุณต้องการวัดว่า มีกระแสไฟออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายหรือไม่ ให้คุณปรับตัวบิดไปที่ตัวเลขที่ใกล้เคียงสูงกว่า สายเส้นที่คุณจะวัด เช่น คุณต้องการวัดสายแดงที่จ่ายไฟ 5 โวลต์ ให้คุณปรับไปที่เลข 10 เพื่อป้องกันมัลติมิเตอร์พัง เพราะกระแสเกิน
อีกส่วนของมัลติมิเตอร์ ก็คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยปกติแล้วไฟบ้านเราจะใช้แรงดันไฟที่ 220 โวลต์ ใช้ในเวลาที่คุณต้องการจะวัดสายไฟที่ต่อออกจากไฟบ้านเข้าพาวเวอร์ซัพพลายว่า มีไฟเข้าหรือไม่

หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัวหนึ่งชำรุด เสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
รายละเอียดต่างๆ ของมัลติมิเตอร์
ส่วนประกอบต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
และหน้าที่การทำงาน
เอาละครับ เรารู้หลักการทำงานคร่าวๆ ของ Power supply แล้ว เรามาดูถึงอาการเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าจะวิเคราะห์อาการเสียอย่างง่ายๆ ก็มี เช่น
  • เปิดแล้ว พัดลมไม่หมุนแต่เครื่องติด
    หากอาการแบบนี้ให้คุณทราบไว้เลยว่า พัดลมระบายความร้อนในพาวเวอร์ซัพพลายของคุณนั้นมันเกิดอาการเสียซะแล้ว อาจเป็นเพราะเกิดการฝืดเนื่องจากมีฝุ่น หรือหยากไย่เข้าไปค้างอยู่ หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้ พาวเวอร์ซัพพลายของคุณพังได้ วิธีแก้ก็คือให้คุณ ตัดเอาพัดลมพร้อมสายไฟออกแล้วเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (แถวบ้านหม้อก็ได้) แล้วยื่นพัดลมให้คนขายดูเขาก็จะหยิบตัวใหม่ที่เหมือนกันเปี๊ยบมาให้คุณ คุณก็เอากลับไปต่อกับตัวพาวเวอร์ได้เหมือนเดิม แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ราคาพัดลมกับพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหม่นั้นมีราคาใกล้เคียงกันมากทีเดียว แต่ลองหัดซ่อมดูก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ
  • เปิดแล้วเครื่องไม่ติดพัดลมไม่หมุน
    หากเกิดอาการอย่างนี้อย่าเพิ่งสรุปนะครับว่า พาวเวอร์ซัพพลายของคุณเสีย เพราะอย่างที่บอกไว้ในหัวข้อข้างต้นก็คือ Power supply แบบ Switching นั้น สามารถที่จะตัดกระแสไฟได้ถ้าหากมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากตัวมันไปชำรุด ดังนั้นวิธีเช็กก็คือให้คุณถอดอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมด ออกมาก่อนแล้วเปิดดู หากพัดลมติด และใช้มัลติมิเตอร์วัดดู ถ้าเข็มแสดงว่ามีไฟเลี้ยงเข้าแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของคุณนั้นเกิด อาการชำรุดหรือช็อต วิธีทดสอบก็คือให้เสียบไฟโหลดนั้นทีละตัว แล้วเปิดดูหากอุปกรณ์ชิ้นไหนชำรุดพาวเวอร์ซัพพลายก็จะไม่หมุน (ตัวอย่างที่พบกันบ่อยๆ ก็คือคุณประกอบเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส โดยที่ไม่ได้ใช้แผ่นโฟมหรือขาพลาสติกรอง ทำให้ลายวงจรของเมนบอร์ด เกิดการสัมผัสกับตัวเคสที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้น ดังนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ให้คุณรีบปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายโดยเร็ว และใช้แผ่นโฟมหรือแหวนรองน็อต ใส่ก่อนทุกครั้งที่ประกอบเครื่องลงเคส ไม่งั้นคุณอาจต้องน้ำตาร่วงเพราะเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่)
    วิธีวัดพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้ามีเข็มขึ้น
    แสดงว่าพาวเวอร์ซัพพลายของคุณปกติ
    สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่ฟิวส์ที่อยู่ภาพในตัว พาวเวอร์ซัพพลายเองขาด วิธีดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ก็ให้ดูด้วยตาเปล่า หรือถ้ามีเขม่าจบในฟิวส์มากๆ ก็ให้ถอดฟิวส์ออกมาวัดโดยวัดจากค่าความต้านทานในฟิวส์ ตรงนี้คุณต้องถอดออกมาจากวงจรนะครับ ถึงจะวัดได้ ถ้าไม่มีความต้านทานขั้นก็แสดงว่าฟิวส์ขาด แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด แล้วยังไม่มีไฟเข้าที่พาวเวอร์ซัพพลายอีก สาเหตุน่าจะมาจาก สายไฟที่คุณใช้ต่อไฟกระแสสลับเข้าสู่ไฟบ้านมีอาการชำรุด ขาดใน หรือแผงวงจรร หรือ อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งของพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหาย
    สำหรับในกรณีแรกให้คุณลองหาสายไฟมาเปลี่ยนดู แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สอง ก็เปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายใหม่เถอะครับ ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมเพราะมันไม่คุ้ม อ้อ ก่อนการลงมือซ่อมพาวเวอร์ซัพพลายทุกครั้งอย่าลืมว่าต้องใส่รองเท้าหนาๆ ด้วยนะครับ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตัวคุณเอง

    ที่มา อาณัติ แซ่เบ๊ - 15 กรกฎาคม 2545 
    http://www.arip.co.th/articles.php?id=404960
  • วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

    แบบทดสอบปฏิบัติกลางภาค

    1. จงอธิบายหน้าที่ของสวิตชิ่ง มาพอสังเขป
    2. แรงดันไฟจ่ายให้กับเพาเวอร์ซัพพลายด้านอินพุท 110 VAC กับ 220 VAC  มีความสำคัญอย่างไร
    3. อุปกรณ์ที่เป็น ไดโอด หรือบริด ในวงจรเรกติไฟร์ มีความสำคัญ ดีต่างกันอย่างไร

    หลักการเบื้องต้นของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลาย

    หลักการเบื้องต้นของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลาย


    SPSbase.gif (16216 bytes)
    หลักการเบื้องต้นของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลาย
            ดังที่เห็นจากรูป จะเห็นว่า ไฟ AC 220 V จะถูกแปลงให้เป็นไฟ DC 310 V ด้วยวงจร เรกติไฟร์และจะถูกทำให้เรียบด้วยวงจร ฟิลเตอร์
    จากนั้น ไฟ DC แรงดันสูงก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็น Pulse ความถี่สูงโดยวงจร สวิตชิ่ง ซึ่งจะถูกควบคุมด้วยชุด สร้างความถี่สูง (PWM)  อีกที.
    ต่อจากนั้น ก็เข้าสู่หม้อแปลงเพื่อ แปลงลง เพื่อให้ได้ระดับไฟที่ต้องการ แล้วก็ผ่านวงจร เรกติไฟร์เพื่อ แปลง Pulse ความถี่สุงให้เป็น ไฟ DC
    แล้วจึงผ่านวงจรฟิลเตอร์ เพื่อไฟ DC ที่ ขาออกให้เรียบ.      เราจะมาดูทีละส่วนกันนะครับว่ามีรายละเอียดอย่างไร.
    - วงจรกรองสัญญาณรบกวนไฟ 220 V AC เข้า
            จริงๆแล้วส่วนนี้จะมีส่วนของวงจร กันสัญญาณรบกวน ทั้งไม่ให้เข้ามา และ ไม่ให้ออกไป อยู่ก่อนหน้า วงจร เรกติไฟร์ นะครับ ซึ่งเรียกว่า
    Noise Filter หรือ EMI + RFI Filter ซึ่งใน Power Supply ราคาถูกที่ติดมากับ Case โดยทั่วไปจะตัดออกเพื่อลดต้นทุน
    เนื่องจากส่วนนี้ถึงไม่มี เพาเวอร์ซัพพลายก็สามารถทำงานได้แต่จะมีข้อเสียคือ จะมีสัญญาณรบกวน EMI ,RFI ออกมาจากตัว เพาเวอร์ซัพพลาย
    ไปรบกวนอุปกรณ์อื่นๆ ได้ และที่แน่ๆ จะไม่ได้รับมาตฐานการรับรอง ขายได้เฉพาะในประเทศที่ด้อยพัฒนาเท่านั้น....
    nfilter1.jpg (26446 bytes)  nfilter2.jpg (19344 bytes)
    - วงจร เรกติไฟร์
            ต่อมาก็เป็นวงจร เรกติไฟร์ จะใช้ ไดโอด 4 ตัวต่อกันเป็น วงจรที่เรียกว่า บริดจ์ เรกติไฟร์ ดังรูปนะครับ. มีดูได้สองอย่างครับ.
    ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ของไม่ดีละก็ ส่วนมากจะเอาไดโอดเบอร์ RL206 ทนกระแส  2A ทนแรงดัน 800V มาต่อกันเป็น บริดจ์
    แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ดีๆละก็ส่วนมากจะใช้ บริดจ์สำเร็จรูปมาจากโรงงานเลย ดังรูปครับ.
    คราวนี้ก็มาดูว่า บริดจ์เราเจ๋งไม่เจ๋ง ให้ดูที่การทนกระแส และแรงดันครับ แต่ตัวที่สำคัญคือ กระแส อย่างของ Enermax รุ่น 465VE นี่ใช้เบอร์ PBU1005
    รับกระแสได้ 10A รับแรงดันได้ 500V หรืออย่าง Powtec รุ่น SA320 ใช้เบอร์ GBU8J ซึ่งรับกระแสได้ 8A รับแรงดันได้ 600V เป็นต้น
    วิธีดูคือ ให้ดูตัวเลขชุดแรกจะบอกกระแสที่ทนได้ ตัวเลขชุดที่สองจะบอกแรงดันที่ทนได้ บางบริษัทจะใช้ตัวอักษรแทน ตามตาราง
    KBU , GBU , PBU , KBP ,KBL ,SBU , SKB , RS4024D4A  200V
    4044G4A  400V
    6066J6A  600V
    8108M8A  1000V
    100810K10A 800V
    bridge1.jpg (26953 bytes)   bridge2.jpg (17016 bytes)  bridge3.jpg (25288 bytes)
    bridge4.jpg (19406 bytes)   d4.jpg (11837 bytes)
    - วงจร ฟิลเตอร์
            ต่อมาก็เป็นวงจร ฟิลเตอร์ ประกอบด้วยตัวเก็บประจุขนาดใหญุ่ 2 ตัวขนาดทนแรงดันได้ 200V มาต่ออนุกรมกันเพื่อให้ทนแรงดัน 400V
    ที่ต้องใช้ 2 ตัวเนื่องจาก ทำให้สามารถปรับให้ ใช้ไฟ ได้ทั้ง 110V และ 220V
    และอีกอย่างที่สำคัญคือ ตัวเก็บประจุที่ทนแรงดันได้ 400 V มีราคาแพงกว่ามาก
    เมื่อนำตัวเก็บประจุ 2 ตัวค่าความจุเท่ากัน มาต่อ อนุกรม กันจะทำให้ความจุลดลงครึ่งหนึ่ง แต่จะทนแรงดันมากขึ้น
    ค่าความจุยิ่งมากยิ่งดี พวกเพาเวอร์ซัพพลาย ถูกๆ มักจะใช้ ค่า 330 uF 200V 2 ตัวมาต่อกัน (330uF นี่ใช้ในเพาเวอร์ซัพพลายดีๆ
    ก็มี แต่เป็นขนาด 145W ครับ) ถ้าเป็นเพาเวอร์ซัพพลายดีๆี(300W) ละก็ ควรจะมากกว่า 680 uF 200V 2 ตัว   ครับ.
    คือยิ่งถ้า วัตต์สูงยิ่งควรจะมีค่ามากครับ เช่น Enamax 465VE (431W) ใช้ ขนาด 1,000 uF 200V 2ตัว
    ส่วน Powtec SA320 (320W) ก็ใช้ขนาด 820 uF 200V 2ตัว เป็นต้น
    cap1.jpg (19955 bytes)c2.jpg (25597 bytes)
    ?c4.jpg (23322 bytes) c3.jpg (24831 bytes)
    - วงจร สวิตชิ่ง
            จากนั้นก็จะเข้าสู่วงจร สวิตชิ่งละครับ  วงจร สวิตชิ่งมีอุปกรณ์หลักๆ ก็คือ เพาเวอร์สวิตช์(Q1) ซึ่งอาจจะเป็น ทรานซิสเตอร์ หรือ มอสเฟต แล้วแต่การ ออกแบบ
    ตัวนี้ก็จะดู การทนกระแส และแรงดัน ครับ ต้องดูเบอร์แล้วจึงไปหาข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิต แต่ถ้าดูแบบง่ายๆ คือ ต้องตัวใหญ่ครับที่เรียกว่าตัวถังแบบ TO-3P , TO-246 , TO-247 , TO-264
    ถ้าเป็นตัวเล็กจะเป็นพวก TO-220 สำหรับ ทรานซิสเตอร์เบอร์ยอดฮิตของ เพาเวอร์ซัพพลายดีๆก็ 2SC2625   ถ้าพวกวัตต์สูงก็  2SC3320   ส่วนมอสเฟ็ตจะค่อนข้างหลากหลาย
    อย่าง Enamax 465VE จะใช้เบอร์ FS14FM-16A (14A 800V)  และของ Powtec SA320 จะใช้ SSH11N90 (11A 900V) ...
    q1.jpg (27528 bytes) q2.jpg (22759 bytes) q3.jpg (21964 bytes)
    - วงจร อินเวอเตอร์
            จริงๆ แล้ววงจรสวิตชิ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ อินเวอเตอร์ด้วยแต่ส่วนนี้เราจะดูที่หม้อแปลงความถี่สูง (T1) จะเป็นหม้อแปลงตัวที่ใหญ่สุดในตัวเพาเวอร์ซัพพลายครับ
    ทำหน้าที่ร่วมกับ เพาเวอร์สวิตช์(Q1) เพื่อแปลงไฟ DC 310V ให้เป็น พัลส์สี่เหลี่ยมความถี่สูง ประมาณ 20-100KHz โดยจะมี Output หลายชุด หลักๆคือ 3.3V , 5V , 12V
    ตัวนี้ดูที่ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งดีเช่นเคย
    t2.jpg (25418 bytes) t3.jpg (23456 bytes)
    - วงจร สร้างความถี่สูง (PWM)
            เป็นชุดสร้าความถี่ต้นแบบที่จะป้อนให้ชุด สวิตชิ่งจะประกอบด้วย IC  PWM (Pulse Width Modulator) เป็นหลัก เบอร์ยอดฮิตของ เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกคือ
    DBL494 ,KAI494 และอื่นๆที่มีเลข 494    และอีกเบอร์ที่กำลังมาแรงคือ KA7500B ซึ่งเบอร์นี้จะใช้ในเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีขึ้นมาหน่อย
    และจะมี IC อีกตัวเป็น OpAmp ทำหน้าที่ Comparator ใช้เพื่อป้อนกลับเพื่อให้ PWM ทำงานได้ถูกต้องตาม Load ก็คือเป็นตัวเช็คระดับไฟให้ถูกต้องนั้นเอง.
    เบอร์ยอดอิตก็คือ LM339.  ในส่วนนี้ใน เพาเวอร์ซัพพลายที่ดีๆ ส่วนมากจะใช้ IC ที่ออกแบบมาดียิ่งขึ้น (แน่นอนว่าต้องแพงกว่า) เ่ช่นเบอร์  UC3842 ,SG6105
    ic1.jpg (32722 bytes)ic2.jpg (37971 bytes)  ic3.jpg (17498 bytes)
    - วงจร เรกติไฟร์ ด้าน Output
            เป็นชุดที่จะทำการแปลง พัลส์ความถี่สูงให้กลายเป็นไฟ DC โดยการใช้ ไดโอดความถี่สูงที่เรียกกันว่า Schottky Diode หรือ Fast Recovery Diode
    ซึ่งโดยปกติตามวงจรจะใช้เป็นคู่กัน (ชุดละ 2 ตัว) ถ้าเป็น   เพาเวอร์ซัพพลายถูกๆ ก็จะใช้ ไดโอด 2 ตัวมาต่อกัน แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ของดีๆละก็ จะใช้เป็น
    ตัวสำเร็จมาจากโรงงานเลย ดังรูป ส่วนจะดูว่าทนกระแส และแรงดันได้เท่าไรนั้นก็เหมือน ทรานซิสเตอร์ หรือ มอสเฟต คือต้องเปิดคู่มือเอา.
    d1.jpg (21002 bytes)  d2.jpg (22712 bytes)
    - วงจร ฟิลเตอร์ ด้าน Output
            วงจร ฟิลเตอร์ ด้าน Output ประกอบด้วยตัว คอยล์ (Inductor) และตัวเก็บประจุ ที่ต้องใช้คอยล์หรือขดลวดเนื่องจากเป็นความถี่สูงจะทำให้การกรองและการเก็บพลังงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
    t1.jpg (29934 bytes)  coil4.jpg (22325 bytes) coil1.jpg (26500 bytes)
    จากนั้นจึงจะใช้ตัวเก็บประจุต่อเพื่อให้กระแสเรียบอีุกที   ตัว คอยล์เราก็ดูที่ขนาดครับ ใหญ่ดีกว่าเล็กแน่ๆ ส่วนตัวเก็บประจุด้านไฟออกนั้น ยิ่งมีค่าความจุสูงยิ่งดีครับ.
    วงจร เรกติไฟร์ และ ฟิลเตอร์ ด้าน Output นี่จะมีหลายชุด หลักๆ ก็คือ +3.3 V , +5.0V , +12V , -12V ( -12V และ -5V ใช้ชุดเดียวกัน) ส่วน Vsb +5.0V นั้นจะเป็นเพาเวอร์ซัพพลายอีกชุดแยกต่างหาก.
    รูปภายใน เพาเวอร์ซัพพลาย แบบ ที่ติดมากับ Case ซึ่งเป็นแบบราคาถูกโดยทั่วไป
    psu1.jpg (49265 bytes)
    รูปภายใน เพาเวอร์ซัพพลาย Enlight 300W
    psuen1.jpg (37147 bytes)

    วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

    ส่วนที่ซ่อมได้ของ Power Suppy

    ส่วนที่ซ่อมได้ใน Power Suppy

    1.Fuse 6.3A












    2.Bridge บริดแบบสำเร็จรูป 4 ขา












    3.Switching

    -Diode 1N4148

                   












    -SBL2040


                   











     -HBR20100

                     














    -SBL3040
                   











     -KN2907

                   













     -W13009

                     












    -C945

                   













     -C1815











    4.IC Regulator
     -SG6105Z












    5.Capacitor
    -C 470uF/200V












    6.IC
     -SG6105Z