วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Power supply watt แท้ watt เทียม

เรื่อง Power supply watt แท้ watt เทียม

July 6, 2009 by: admin

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ช่วงนี้หน้าฝนแล้วมีคำเตือนจากประสบการณ์ตรงจากการเป็นช่างคอมมาเกือบ 10 ปี คือ ทุก ๆ หน้าฝนคอมพิวเตอร์จะเสียมากผิดปกติเพราะอะไรเหรอครับเพราะช่วงฝนตกก็มักจะมีฟ้าร้องฟ้าฝ่า ในบางกรณีฟ้าผ่าใกล้ ๆ หม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่ ๆ ที่อยู่บนเสาไฟฟ้าแรงสูงหรือผ่าตรงหม้อเลย ถ้าหม้อไม่ระเบิดซะก่อน กำลังไฟภายในหม้อนั้นก็จะพุ่งขึ้นสูงปรี๊ด จากปกติ แล้วก็จะพุ่งเข้าบ้านเราด้วยความแรงปรี๊ดเช่นกันอาจขึ้นไปได้สูงถึง 350-400 โวลล์… แน่นอนว่าอุปกรณืทุกชิ้นที่ต่ออยู่ก็จะพากันไหม้เป็นแถบ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคอมพิวเตอร์ที่ช่างจะอ่อนไหวเหลือเกินกับสภาพไฟแบบนี้ เพราะฉะนั้นฝนนี้ หา UPS ดี ๆ ซักตัวมาติดกันไว้ก่อนจะเสียน้ำตาเพราะคอมพังนะครับ อ้อแล้วใครที่เล่น internet อย่าลืมเอาสายสัญญาณโทรศัพท์ต่อกับ UPS ก่อนเข้า Rouster ด้วยนะครับเพราะตอนนี้ สายโทรรศัพท์เองก็ห้อยอยู่ใกล้กับสายไฟแรงสูง ถ้าโดนผ่าก็โดนด้วยกันแหละครับ เร้าเตอร์ หรือโมเด็มก็มีสถิติพังในหน้าฝนไม่แพ้กัน.
แหมเกร่นนำนอกเรือ่งมาหลายบันทัดมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องในวันนี้คือเรื่องของ Power supply ครับ เพื่อนๆพี่ๆหลาย ๆ คนชอบถามผมเรื่อของ Power supply ที่ตอนนี้มี “วัตต์แท้” “วัตต์เทียม” อะไรให้วุ่นวาย ซึ่งโดยปกติแล้วผมก็ไม่ค่อยได้สนใจเจ้าตัว power supply นี่เทาไหร่นักเสียหรือมีอาการผิดปกติอะไรก็เปลี่ยนเลย เพราะมันไม่แพงมาก แต่หลัง ๆ นี่ชักไม่ใช่เพราะหลาย ๆ คนมีปัญหาเวลาซื้อ Power supply ราคาถูก ๆ มาใช้แล้วเกิดปัญหาหลายอย่างวันนี้เลยจะมา แฉ “วัตต์แท้-ทียมกัน” ครับ
รู้จัก Power supply
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าผมไมได้เรียนจบมาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยตรง ความรู้ที่ได้มาจนถึงขั้นเป็นอาจารย์สอนซ่อมคอมพิวเตอร์ได้เกิดจากความสนใจและใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาโดยไปหาเรียนเอาตามสถานที่สอนซ่อมคอมต่าง ๆ โดยมีอาจารย์-เพื่อนและตำราต่าง ๆ เป็นแหล่งข้อมูล ดังนั้นผมจะไม่ขอใช้คำพูดเป็นภาพษาช่างหรือศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยากให้เพื่อน ๆ งง เพราะผมก็งง ผมจะขอใช้คำเป็นลักษณะของผมเองให้เพื่อน ๆ เข้าใจง่ายที่สุดส่วนเพื่อนคนไหนอยากเสริมเพิ่มอะไรก็เชิญได้ที่ comment หรือเวบบอร์ดได้นะครับ เอาหล่ะเริ่มกันเลย
Power supply ให้ความหมายง่าย ๆ เลยคือหน่วยจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยหลักการทำงานของมันก็คือแปลงไฟจากไฟบ้าน กระแสสลับ(AC) ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) ค่าต่าง ๆ แล้วแจกจ่ายให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าวถ้ามันแปลงจาก AC เป็น DC ก็ต้องใช้หม้อแปลง (Tranfromer) ขนาดใหญ่ ๆ เหมือนกับที่ใช้กันอยู่ใน UPS สิ แต่ทำไม Power supply ของคอมพิวเตอร์ ถึงได้ไม่ได้มีน้ำหนักขนาดนั้น…คำตอบคือ Power supply ของคอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้หม้อแปลงในการแปลงค่าไฟจาก AC เป็น DC ครับ แต่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคในการแปลง เราเรียก Power supply แบบนี้ว่า Switching power supply

หลักการทำงานของ Switching power supply
หลักการทำงานของมันก็คือเมื่อมีไฟกระแสสลับเข้าที่ AC In ไฟนั้นก็จะถูกแปลงเป็นไฟ DC ที่มีค่า โวลต์สูงโดยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า แพ็คเกจไดโอท (ไดโอท 4 ตัวที่นอนเรียงกันอยู่ตรงภาคไฟสูงนั่นแหละครับ) เมื่อแปลงออกมาแล้วค่าไฟ DC จะสูงมากประมาณ 300 โวลต์ และส่งไปที่ คาปาซิสเตอร์ (กระป๋องใหญ่ ๆ 2อันเหมือนจากไดโอท) จะทำหน้าที่กรองกระแสไฟให้เรียบที่สุดเท่าที่จะทำได้(เพราะไฟ DC ที่ได้จากการแปลงด้วย แพ็คเกจไดโอทมันจะไม่สม่ำเสมอเหมือนกับแปลงด้วยหม้อแปลง) จากนั้นก็ถูกส่งไปที่ หม้อแปลงตรงกลาง เพื่อแปลงให้เป็น DC ต่ำตามที่ อุปกรณ์ต้องการ ก็จะมีอยู่ 3 ค่าหลัก ๆ คือ DC 12 V,DC 5 V และ DC 3.3 V จากนั้นไฟที่ถูกแปลงแล้วจะถูกส่งย้อนกลับไปที่ IC ที่ติดอยู่กับแผ่นระบายความร้อนสีเงิน ๆ ติดกับภาคไฟสูงเพื่อควบคุมค่าแรงดันไฟให้ได้ตามต้องการ(ไม่ขาดไม่เกินมากนัก)และเมื่อได้แรงดันไฟที่ค่อนข้างสม่ำเสมอแล้วกระแสจะถูกส่งเข้าไปที่ IC อีกด้านที่อยู่ติดกับภาพไฟต่ำ IC ตรงนี้แหละครับเราเรียกว่า Switching มันจะทำหน้าที่คอยตรวจเช็คว่ามีอุปกรณ์ตัวใดที่ต่ออยู่กับ Power supply มีการทำงานผิดปกติเช่น ลัดวงจร รึเปล่าถ้าพบอุปกรณ์ที่มีการลัดวงจร switching จะทำการติดไฟออกจากภาคไฟต่ำเพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (อาการนี้สังเกตุได้ง่า ยๆ คือเมื่อคุณกดเปิดเครื่องแล้วเครื่องติดพัดลมหมุน นิดเดียวแล้วก็ดับ หรือ ติดปุ๊บแล้วดับเลยอันนี้ก็ให้สันนิฐานได้แล้วว่าคงมีอุปกรณ์ตัดใดตัวหนึ่งลัดวงจร หรือไม่ก็อาจมีเศษโลหะตกลงไปในเครื่องของเรา(เอาไว้ผมจะเขียนบรรยายอย่างละเอียดในโอกาสต่อไปนะครับ) และถ้าSwitching ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกติก็จะปล่อยกระแสออกทางภาคไฟต่ำเพื่อแจกจ่ายไปตามสายไฟเข้าสู่อุปกรณ์ต่อไป

ค่าแรงดันไฟที่ออกตามสายไฟมีดังนี้
12V สายสีเหลือง
5V สายสีแดง
3.3 V สายสีส้ม
Ground สีดำ
-12 V สีน้ำเงิน
-5 V สีขาว
standby 5 V สีเทา
โดยอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะไปจัดสรรค์ค่าไฟที่รับมาจาก Powersupply เอง เช่น Mainboard ก็จะจ่ายไฟ 3.3 V ให้กับ CPU และตัว control ของ CPU ก็จะไปจัดสรรไฟ 3.3 V ให้เป็นค่าที่ CPU ต้องการเช่น 1.75 V และไฟ 12 V ก็จะถูกใช้โดย HDD ,CD-rom,vga card ก็จัดสรรกันไปตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด
วัตต์แท้-วัตต์เทียม ดูกันอย่างไร?
จริง ๆ แล้วกำจะหาค่าวัตต์นั้นจำต้องใช้ค่า ”แอมป์” (แรงดันไฟฟ้า) ในแต่ละเฟสมาคำนวนให้เป็นวัตต์ แล้วนำมาบวกรวมกันอีกที ดังนั้น Power supply 2 ยี่ห้อที่ตี วัตต์เท่ากันอาจใช้กับคอมสเป็กเดียวกันไมได้

Power supply A

Power supply B
จากภาพเราจะเห็นได้ว่า Power supply A ที่ติดบอกไว้ว่า 400 W อาจไม่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ VGA แบบกินไฟมาก ๆ อย่าง GF 9800 หรือ ต้องต่อพ่วงกับ HDD หลาย ๆ ตัวแล้วอาจจะเกิดปัญหาได้ได้เพราะว่า Amp น้อยกว่า Power supply B
ดูยังไง Watt แท้ Watt เทียม
ถ้านอกเหนื่อจากการดูจำนวน AMP ที่ Power supply lมารถจ่ายได้แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือ”ราคา” Power supply 550 watt ราคา 500 บาท อันนี้ดูได้เลยครับว่าวัตต์ไม่แท้ “แต่ถ้าคุณเจอพ่อค้าหัวใส อับราคาของจาก 500 าเป็น 800 หล่ะ นั่นหน่ะสิ ก็ให้ดูที่วัสดุและน้ำหนักครับ Power supply วัตต์แท้จะค่อนข้างมีน้ำหนักมากกว่า วัตต์เทียมอย่างเห็นได้ชัด “อ้าวแล้วถ้าทั้งร้านเค้ามียี่ห้อเดียวหล่ะ” นั่นสิครับทำไงดี เอาเป็นว่า ถ้าคุณไม่ได้เป็นพวกเล่นเกมส์หรือใช้งาน VGA ระดับเทพ ผมว่า Power ธรรมดา 450 W ราคา 500-600 บาทก็เพียงพอกับความต้องการของคุณครับ แต่ถ้าเป็นพวกตรงข้าม ก็แนะนำให้คุณมองหา Power supply ที่มีแอมป์สูง ๆ มีวัตต์มาก ๆ และมีราคาสูงหน่อย

1 ความคิดเห็น:

  1. I am very much pleased with the contents you have mentioned. I wanted to thank you for this great article. Lenovo Power Supply

    ตอบลบ